นิปเปิ้ลให้น้ำสำหรับไก่กิน Nipple Drinker
โรงงานพลาสติก ขวดพลาสติก บรรจุภัณฑ์ | K.V.J. Union Co., Ltd.

News & Updates

นิปเปิ้ลให้น้ำสำหรับไก่กิน Nipple Drinker

นิปเปิ้ลให้น้ำสำหรับไก่กิน

นอกเหนือจากเรื่องของพันธุ์สัตว์ที่มักถูกละเลยแล้ว น้ำดื่มก็มักเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มกจะถูละเลยเช่นกัน ในเมื่อเป้าหมายหลักสูงสุดของของการสัตว์ก็คือการการเลี้ยงสัตว์เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด ซึ่งเกษตรกรทั่วไปมักให้ความสำคัญกับเรื่องของอาหารสัตว์มากกว่า ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าอาหารสัตว์ในตอนนี้มันจะมีราคาที่มีแนวโน้มที่จะสูงมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่รูปแบบของการวางระบบน้ำ คุณภาพของน้ำ และเทคนิดของการให้ยาเพื่อรักษาโรคโดยการผสมน้ำกินนั้นกลับไม่ได้รับการเอาใจใส่เท่าที่ควร

ควรระลึกเอาไว้เสมอว่า ปริมาณของน้ำที่ไก่กินนั้นมากกว่าอาหารประมาณ 2-3 เท่าในแต่ละวัน ดังนั้นการขาดน้ำไก่กินจึงส่งผลเสียมากต่อขบวนการผลิตไก่ และนอกจากนี้ ถ้าคุณภาพของน้ำไม่ดีแล้ว การให้ยาโดยการละลายน้ำนั้น มันก็จะไม่มีประสิทธิภาพตามมาด้วย

การจัดการระบบการให้น้ำภายในฟาร์มไก่

การจัดการระบบการให้น้ำภายในฟาร์ม จะต้องมีการจัดการด้วยความระมัดระวัง โดยจะต้องมีการพิจารณาปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
1. ระบบน้ำจะต้องสามารถป้องกันการปนเปื้อนจะแหล่งน้ำสิ่งแวดล้อมได้ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน และนอกจากนี้ ขนาดของปั้มน้ำ แท็งน้ำและท่อน้ำ ควรที่จะมีขนาดที่ใหญ่พอ เพื่อลดการสูญเสียแรงดันภายในระบบน้ำ
2. ระบบการกรองน้ำ ซึ่งถ้าจะให้ดีควรที่จะมีการขนาดของการกรองที่ระดับ 60 ไมครอน ซึ่งมันจะช่วยในการกรองตะกอนต่างๆที่ปนมากับน้ำได้ดี และนอกจากนี้มันจะช่วยลดการอุดตันภายในท่อของระบบการให้น้ำได้เป็นอย่างดี และนอกจานี้ ระบบการกรองที่ดีมันจะสามารถ ช่วยลดปัญหาการเกิดไบโอฟีมล์ ภายในท่อระบบน้ำได้ด้วย
3. มิเตอร์วัดปริมาณน้ำไก่กินและปริมาณของน้ำที่ใช้ไปทั้งหมด จะต้องมีการติดตั้งเอาไว้ทุกฟาร์ม หรือทุกโรงเรือนของการเลี้ยงไก่ ซึ่งถ้าการกินน้ำของไก่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติแล้ว มันก็สามารถที่จะบอกได้เป็นนัยๆว่า น่าจะเกิดปญหาขึ้นกับตัวไก่แล้ว ซึ่งทั้งนี้อาจจะบอกได้คร่าวๆว่า ไก่อาจจะป่วย หรือเกิดความเครียดขึ้นแล้ว ซึ่งการจัดการตรวจวัดปริมาณของน้ำไก่กินที่ถูกต้องนั้น จะช่วยทำให้การให้ยาโดยการละลายน้ำได้ผลดี หรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. การให้ยาละลานน้ำแบบเทในแท็งใหญ่นั้น ถ้าเป็นไปได้ก็ควรที่จะเลิกใช้ เพราะว่ามันจะทำให้มีการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ภายในแท็งที่มากขึ้น และนอกจากนี้มันยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้สัตว์พาหะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนู แมลงสาป จิ้งจก ตกลงไปในแท็งได้ และนอกจากนี้ การให้ยาโดยการละลายน้ำในแท็งนี้ มันยังอาจจะทำให้ยาตกตะกอนภายในถังได้ ซึ่งเมื่อให้วัคซีนโดยการละลายน้ำภายในถังเดิมนี้ มันก็อาจจะมีผลการประสิทธิภาพของการให้วัคซีนกับไก่ด้วยก็ได้ แนวทางปฏิบัติโดยส่วนมาก ทั่วโลกมักจะใช้ปลั้มแรงดันสูงต่อเข้ากับระบการให้น้ำภายในฟาร์ม เพื่อที่จะทำให้แรงดันของน้ำกระจายไปได้อย่างทั่วถึงในทุกๆจุดของระบบท่อภายในฟาร์ม ซึ่งข้อดีก็คือ มันจะสามารถทำให้ไก่ได้รับน้ำอย่างเพียงพอและทั่วถึงกันทุกจุดของระบบรายน้ำ
5. หัว นิปเปิ้ลไก่ Nipple Drinker จะต้องมีจำนวนที่เพียงพอ ต่อจำนวนของไก่ที่เลี้ยงอยู่ภายในโรงเรือนนั้นๆ

คุณภาพของน้ำไก่กิน และนิปเปิ้ลไก่

คุณภาพของน้ำเป็นเรื่องพื้นฐานที่จำเป็นจะต้องให้ความสำคัญมาก เพราะว่าโดยมาตรฐานของน้ำทั่วไปแล้ว ไม่ได้มีการกำหนดไว้ในแต่ละสายพันธ์ของสัตว์ที่นำมาเลี้ยง โดยทั่วไปจะใช้มาตรฐานของน้ำกินของมนุษย์แทน แม้ว่าส่วนประกอบบางตัวจะมีค่าตัวบ่งชี้ที่แตกต่างจากน้ำที่คนกินก็ตาม
ในเชิงอุดมคติแล้ว จะมีการแนะนำให้มีการตรวจน้ำปีละ 2 ครั้ง ซึ่งทั้งนี้ก็อาจจะมีการตรวจวิเคราะห์ ในช่วงฤดูแล้งกับฤดูฝน หรืออาจะเป็นช่วงฤดูร้อนกับฤดูฝน ก็ได้ ซึ่งการตรวจก็จะเป็นการตรวจทางกายภาพ ซึ่งการวิเคราะห์ก็จะมี เช่น ความเป็นกรดเป็นด่าง ความกระด้างของน้ำ ปริมาณของสารอินทรีย์ในน้ำ สนิมเหล็ก ไนเตรด ไนไตรด์ แอมโมเนียม คลอไรด์ เป็นต้น และนอกจากนี้การตรวจวิเคราะห์เชิงชีวภาพก็จะมี เช่น การตรวจลักษณะของเชื้อแบคทีเรียต่างๆ E.coli ,Clostridium , Coliforms Streptococci , Pseudomonas , Staphylococci เป็นต้น

การตรวจวิเคราะห์น้ำ ควรทำการสุ่มตัวอย่างน้ำที่จะนำมาทำการวิเคราะห์ จากหลายๆที่ เช่น ก้นบ่อ แอ่งน้ำ ผิวน้ำ แหล่งน้ำหลักที่ใช้ในการเลี้ยงไก่ เป็นต้น และที่สำคัญจุดปลายน้ำที่ไก่กิน หรือที่สัตว์สำผัสอยู่ก็มักจะเป็น จุดๆหนึงที่จะต้องนำมาตรวจสอบเพราะ มันมักจะเป็นจุดศูนย์รวมของการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ด้วย
เมื่อการการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆภายในท่อน้ำแล้ว เชื้อจุลินทรีย์เล่านั้นก็จะมีการเจริญเติบโต เพิ่มจำนวนขึ้นมาก แล้วหลังจากนั้นมันก็จะทำให้เกิดไบโอฟีมขึ้นภายในระบบน้ำของท่อรายน้ำไก่กิน ตามมา ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่ฟาร์มไก่จะต้องทำเป้นประจำก็คือ การทำความสะอาดระบบรายน้ำและที่น้ำ ให้เป็นประจำด้วย และนอกจากนี้ จะต้องมีการวิเคราะห์ผลทางห้องปฏิบัติการของน้ำที่ส่งตรวจวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมออีกด้วย เมื่อพบว่าคุณภาพของน้ำไม่ดีแล้ว ก็จะต้องทำการแก้ไขอย่างรวดเร็ว ต่อไป เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นกับไก่ที่เลี้ยงอยู่ภายในฟาร์ม ต่อไป

ในการแกไขปัญหาของคุณภาพน้ำไก่กินนั้น จะต้องต้องดูที่ปัญหาว่า ปัญหาหลักๆ ที่พบนั้นคืออะไร เช่น ถ้าพบว่าน้ำนั้นมีการปนเปื้อนแบคทีเรีย หรือเชื้อจุลินทรีย์ที่มากเกินไปแล้ว ก็จะต้องเพิ่มสารคลอรีนลงไปในน้ำ เพื่อที่จะช่วยในการฆ่าเชื้อในน้ำนั้นให้หมดไป หรือถ้าพบว่าน้ำนั้นมีความขุ่นเป็นจำนวนมาก ก็จะต้องทำการตกตะกอนของน้ำ ก่อนที่จะนำมาฆ่าเชื้อ เพื่อทำให้ผลของการฆ่าเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งสำคัญที่เราไม่ควรที่จะมองข้ามเลยก็คือ ปัญหาของน้ำไก่กินที่มีตะกอนของสารอนินทรีย์มากๆ เช่น น้ำมีการปนเปื้อนของสาร แมกนีเชียม สารคอบเปอร์ซัลเฟต หรือแม้กระทั้ง แร่เหล็ก ซึ่งตะกอนเหล่านี้มันจะไปมีผลทำให้ท่อระบบรายน้ำเกิดการผุกร่อนขึ้นมาได้ และสุดท้ายก็จะทำให้ ระบบรายน้ำที่มีการจัดการอยู่ภายในฟาร์มไก่นั้นเกิดการเสียหายตามมาได้

การปรับปรุงคุณภาพน้ำไก่กิน และนิปเปิ้ลไก่

กระบวนการในการปรับปรุงคุณภาพของน้ำไก่กินนั้น สามารถที่จะทำได้หลายๆวิธี ซึ่งขึ้นกับคุณลักษณะของน้ำที่ นำมาใช้ เช่น

  • การฆ่าเชื้อในน้ำโดยใช้สารคลอรีน โดยมากแล้วมักจะมีการผสม หรือเติมสารคลอรีนลงไปในน้ำก่อนที่น้ำจะมีการใหลเข้าไปในแท็ง หรือท่อ เพื่อให้สารคลอรีนมีเวลาทำปฏิกิริยา ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ต่างๆก่อน ไม่น้อยกว่า 20 – 30 นาที โดยเชื้อโรคที่จำเป็นจะต้องฆ่าได้แก่ เชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรค เชื้อไวรัส ที่ก่อโรค เชื้อราที่ก่อโรค ในไก่ต่างๆ เป็นต้น
  • การฆ่าเชื้อในน้ำด้วย ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือ คลอรีนไดออกไซด์ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ มีหลายๆพื้นที่นิยมทำกัน แต่การฆ่าเชื้อโรคด้วยวิธีนี้ มันมักจะมีข้อกำกัดเหมือนกัน คือ มันจะออกฤทธิได้ดีในระบบน้ำที่เป้นระบบปิด เท่านั้น และถ้าน้ำมีตะกอนที่มากๆ มันจะออกฤทธิได้ไม่ดีเลย
  • การกรองน้ำ จะเป็นวิธีหนึงที่ทำให้คุณภาพของน้ำดีขึ้น โดยเฉพาะน้ำที่มีลักษณะที่ขุ่น ดังนั้นถ้าน้ำไก่กินขุ่น การกรองน้ำไก่กินก็เป็นอีกวิธีหนึง ที่ทำให้คุณภาพของน้ำในเชิงกาพดีขึ้น ได้
  • การทำให้น้ำมีฤทธิ์เป็นกรด ก็เป็นอีกวิธีหนึงที่สามารถลดการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อจุลินทรีย์ ภายในน้ำไก่กินได้ ซึ่งสารที่จะนำมาทำให้น้ำเป็นกรด หรือลด ph ของน้ำนั้นจะมีอยู่หลายๆ ชนิด ซึ่งทั้งนี้ ควรที่จะให้เจ้าของฟาร์มทำการพิจารณาเลือกชนิดของผลิตภัณพ์ เพื่อความเหมาะสมในแต่ละที่
  • การจำกัดธาตุเหล็กในน้ำ ซึ่งน้ำไก่กินที่มีปริมาณของธาตุเหล็กมากๆนั้น มันจะส่งผลต่อคุณภาพของน้ำมาก เช่น มันจะไปขัดขวางประสิทธิภาพของการทำวัคซีนละลายน้ำ ทำให้ภูมิคุ้มกันภายในตวของไก่ขึ้นไม่ดี มันจะไปขัดขวางประสิทธิภาพของการฆ่าเชื้อของสารคลอรีนที่ไส่ลงไปในน้ำ เพราะธาตุเหล็กมันจะไปจับกับสารคลอรีนที่ไส่ลงไปในน้ำ มันจะไปส่งเสริมทำให้มีการอุดตันของระบบรายน้ำ และอุปกรณ์ที่ต่อผ่านระบบรายน้ำ และมันยังไปส่งเสริมทำให้มีการเพิ่มของจำนวนของจุลินทรีย์ภายในระบบรายน้ำ ได้มากอีกด้วย
  • สารในเตรทที่ผสมอยู่ในน้ำไก่กิน ก็จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่จะส่งผลทำให้สุขภาพของไก่ไม่ดีตามมา ซึ่งน้ำที่มีปริมาณของสารไนเตรทจำนวนมาก เราจำเป็นที่จะต้องทำการกำจัดออกไป ให้เร็ว และก็ให้มากที่สุดด้วย เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดกับสุขภาพของไก่ที่เลี้ยงภายในฟาร์มตามมา
  • ในกรณีที่น้ำไก่กินเป็น้ำกระด้าง ทางฟาร์มไก่ก็จำเป็นที่จะต้องทำการบำบัดก่อนที่จะส่งเข้าไปภายในรายน้ำ โดยการทำให้ความกระด้างของน้ำนั้นลดลงก่อน ซึ่งวิธีการลดความกระด้วงของน้ำนั้นก็มีอยู่หลายวิธี ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของฟาร์ม และในแต่ละพื้นที่นั้นๆ เพราะว่าน้ำกระด้างนั้น มันจะเนี่ยวนำทำให้เกิดปัญหาไปโอฟีมขึ้นภายในระบบท่อรายน้ำได้ ซึ่งถ้ามันเกิดขึ้นแล้ว มันจะไปมีผลทำให้การให้ยา ให้วัคซีน โดยระลายน้ำไม่ได้ผล เกิดการอุดทันของท่อระบบรายน้ำ และสุดท้ายทำให้ปริมาณของเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในระบบท่อ เพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น ซึ่งมันจะไปมีผลกระทบกับสุขภาพของไก่ที่เลี้ยงภายในฟาร์มตามมา

สำหรับเรื่องของ การจัดการน้ำที่สะอาดเพื่อที่จะใช้ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆนั้น ได้มีการจัดการ หรือมีการทำมานาน
แล้วกว่า 30 ปี โดยปัจจุบันนี้ เทคนิคนี้ได้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยจะเห็นได้ว่าทั่งร้านค้า และตลาดต่างก็มีอุปกรณ์ชนิดนี้ออกมาขายเป็นจำนวนมาก ซึ่งเจ้าของฟาร์มเลี้ยงไก่สามารถที่จะไปซื้อมาใช้ได้อย่างสะดวก ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวนี้ มันจะมุงเน้นไปทำให้คุณภาพของน้ำที่เรานำมาใช้ ดื่ม กิน หรือใช้อื่นๆ มีคุณภาพที่ดีขึ้น

การห้ามใช้ยาปฎิชีวนะในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาที่ใช้ในการผสมอาหาร หรือที่ใช้โดยการฉีดนั้นจะมีการห้ามใช้ในการเลี้ยงไก่เนื้อเลย ทำให้แนวทางการใช้ยาโดยการละลายในน้ำไก่กินนั้น จึงเป้นแนวทางที่มีความสนใจมากขึ้น และตอนนี้คงเชื้อได้ว่า ทุกบริษัทที่มีการผลิตไก่เนื้อเพื่อการส่งออกนั้นคงจะมีใช้ยาโดยการละลายน้ำเพียงอย่างเดียว เท่านั้น
การใช้สารชนิดต่างๆ เพื่อที่จะใช้ในการละลายโดยน้ำนั้น มีอยู่หลายๆอย่างที่สามารถที่จะทำได้ เช่น การละลายยาฆ่าโดยกับน้ำแล้วทำการฉีดพ่น การละลายยาฆ่าพายธิ การละลายวัคซีน การละลายยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาโรคต่างๆ การให้อาหารเสริมกับไก่ จำพวกวิตามิน การละลายโปไปโอติก หรือแม้กระทั่งการละลายกรดอินทรีย์ ต่างๆ เป็นต้น

การให้ยาโดยการละลาย

ข้อดีของการให้ยาโดยการละลายน้ำนั้น มีอยู่หลายประการ ดังต่อไป นี้

  • ในกรณีสัตว์ที่ป่วยมักจะมีแนวโน้ม ในการกินอาหารที่ลดลง และมีแนวโน้มที่มักจะกินอาหารที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะชดเชยปริมาณของน้ำที่จะสูญเสียไป และทำการรักษาอุณหภูมิ ของร่างกายให้คงที่ ดังนั้น การให้ยาโดยการละลายน้ำจึงเป็นที่เหมาะสมเป็นอย่างมาก
  • ในการให้ยาโดยการละลายน้ำนั้น เราสามารถที่จะปรับระยะเวลาของการให้ยา ให้มีความเหมาะสมได้ เช่น อาจจะให้ 2-4 ชม. เพื่อทำให้ไก่ สามารถที่จะได้รับยาได้ทุกตัว เพื่อให้ผลของการให้ยานั้นมีประสิทธิภาพที่สูง สุด
  • วิธีการให้ยาสามารถที่จะทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ใช้อุปกรณ์น้อย ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการให้ยาโดยวิธีอื่นแล้วสามรถที่จะปฏิบัติได้เร็วกว่า สะดวกสะบายกว่า
  • ในกรณีที่มีการให้ยาผิดพลาดพลาด เราสามารถที่จะแกไขได้โดยทันที ซึ่งจะไม่เหมือนกับการให้ยาโดยวิธีการผสมมาในอาหารเพราะว่า การให้ยาโดยวิธีการผสมมาในอาหารนั้น มันจะต้องมีการผสมในปริมาณที่มากๆ และบางทีจะต้องมีการแยกถังไซโล สำหรับเก้บอาหารต่างหากอีก
  • มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรค หรือสารเป็นอันตรายชนิดอื่นๆ ซึ่งในกรณีที่กล่าวถึงนี้ก็คือ การปนเปื้อนที่โรงงานผสมอาหารเอง หรือการปนเปื้อนสารชนิดต่างๆที่ฟาร์ม เลี้ยงไก่
  • ขนาดของยาที่ให้ หรือปริมาณของ Dose ของยาที่ใช้สามารถที่จะปรับได้ตามน้ำหนักตัวของไก่ได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องรอให้อาหารที่เราผสมยามานั้นหมดก่อน
  • ในกรณีของการให้วัคซีนกับไก่ สามารถที่จะทำการให้วัคซันกับไก่ในฝูงที่มีจำนวนไก่มากได้เลย ซึ่งทั้งนี้มันจะทำให้ประหยัดเวลา และแรงงานในการปฏิบัติงานด้วย แต่ว่าการให้วัคซีนโดยการละลายน้ำนั้น มันจะต้องคำนึงถึงเรื่องของคุณภาพน้ำอย่างอื่นด้วย เช่น น้ำจะต้องไม่มีสารคลอรีนผสมอยู่ เพราะสารคลอรีนนี้มันจะไปฆ่าวัคซีนที่ละลายอยู่ในน้ำนั้นตายหมด ซึ่งสุดท้ายก็จะทำให้ประสิทธิภาพของการทำวัคซีนไม่ได้ผลตามมา

ข้อดีของการให้ยาโดยการละลายน้ำและนิปเปิ้ลไก่

ในการให้ยาโดยการละลายน้ำ ที่มีการใช้ปั๊ม หรือ dosing pump นั้น จะมีข้อดีหลายๆ อย่าง ดังนี้

  • สามารถที่จะควบคุม จำนวนของการให้ยา ขนาดของการให้ยา ได้อย่างแน่นอน
  • ทำให้ไม่ต้องใช้ถังพักน้ำสำหรับใส่ผสมยาแยะต่างหาก ซึ่งในที่นี้ มันจะมีข้อดีหลายๆอย่าง เช่น เจ้าของฟาร์มไม่ต้องผวงเรื่องที่จะต้องมาเติมยา ไม่ต้องกลัวเรื่องของน้ำขาด ไม่ต้องกลัวเรื่องของยาที่จะตกตะกอน ไม่ต้องมาคอยกวนยาบ่อยๆ ไม่ต้องกลัวเรื่องของขนาดยาที่ไม่ถูกต้อง และไม่ต้องกลัวเรื่องของการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียภายในถังละลายยา และนอกจากนี้ ไม่ต้องกลัวสัตว์พาหะต่างๆที่จะเข้าไปในถังละลายยาด้วย เพราะถังสต็อกยาที่เราใช้มันจีขนาดเล็กและมีฝาปิดตลอดเวลาด้วย
  • ถังสต็อกที่มีขนาดเล็กนี้ สามารถที่จะทำความสะอาดได้ง่าย ไม่เหมือนกับถังละลายยาที่มีขนาดใหญ่ การล้างทำความสะอาดก็จะยาก ใช้แรงงานเป็นจำนวนมากในการปฏิบัติงาน
  • ถ้ากรณเกิดปัญหาในเรื่องของการหยุดการทำงานของปั๊ม การใช้ถังสต๊อกจะไม่เป็นปัญหากับระบบการให้น้ำไก่กิน เพราะว่าระบบของรายน้ำก็ยังสามารถที่จะให้น้ำไก่กินได้เป็นปกติ แต่ว่าถ้าให้ยาโดยการละลายน้ำแบบเป็นถังใหญ่แล้วละก็ ถ้าป็มในระบบรายน้ำไม่ทำงาน น้ำในระบบรายน้ำก็จะไม่ใหล และยาที่จะปล่อยเข้าไปสู่ระบบรายน้ำก็จะไม่ไหลตามไปด้วย ซึ่งก็จะทำให้เกิดผลกระทบกับการให้ยาในไก่ ตามมา
  • การละลายยาในถังใหญ่นั้น จะพบปัญหาได้หลายอย่าง เช่น ความสม่ำเสมอของยาที่จะเข้าไปภายในระบบรายน้ำนั้นจะต่ำ และถ้ายาที่ให้นั้นตกตะกอนด้วยแล้ว มันยิ่งจะมีผลทำให้คุณภาพของยาที่เข้าไปภายในระบบรายน้ำนั้น ไม่มีประสิทธิภาพ ตามไปด้วย และสุดท้ายก็จะมีผลกระทบกับไก่ตามมา
  • การควบคุมความเข้มข้นของการให้ยา และระยะเวลาการให้ยา การใช้ถงสต็อกหรือการใช้ฟั๊ม จะก่อให้เกิดผลที่ดี และมีความแน่นอนของ ปริมาณการให้ยาที่มากกว่า
  • การให้ยาโดยการละลายน้ำนั้น ถ้ายาที่จะให้เป้นรูปแบบที่เป็นผง มันก็ย่อมจะมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้นการให้ยาโดยการใช้ถังสต๊อก จะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า แน่นอน
  • ในกรณีที่เกิดความผิดพลาดขึ้น เช่น การวินิจฉัยโรคที่ผิดพลาด การให้ยาผิดชนิด หรือการให้ขนดของยาที่ผิดพลาด แล้วละก็ วิธีการใช้ถังสต๊อกกับป็มนี้ จะเป็นวิธีที่สามารถที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างรวดเร็วมากที่สุด เพียงแค่นำถังสต๊อกยาเก่าออกแล้ว นำน้ำเปล่าฉีดเข้าไปแทน เพื่อทำการล้างยาให้ออกจากระบบรายน้ำให้หมด เท่านี้ก็สามารถที่จะแก้ไข ปัญหาดังที่กล่าวมาได้แล้ว แต่จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ถึงแม้วิธีการให้ยาโดยการละลายน้ำจะมีข้อดีที่มากเพียงใดก็ตาม แต่ผู้ที่ทำการให้ยาก็จะต้องพึงระลึกถึงข้อห้ามต่างๆ ของยาแต่ละชนิดให้ดีด้วย ว่า มันมีข้อห้ามอย่างอื่นอะไรที่จะต้องมีการพิจารณาร่วมด้วย

ประสิทธิภาพของยา

ข้อควรปฏิบัติสำหรับประสิทธิภาพของยาที่ให้โดยการละลายน้ำ ได้แก่

  • เจ้าของฟาร์มจะต้องแน่ใจว่า ไก่ที่ได้รับยาโดยการละลายน้ำนั้น ได้มีการกินน้ำที่ผสมยานั้นจริง เพราะว่ายาบางชนิดมันขม จะมีผลทำให้ไปมันไม่กินน้ำ ซึ่งเมื่อไก่มันไม่กินน้ำ ก็จะทำให้ไก่ไม่ได้รับยา ตามมา
  • ในการให้ยาโดยการละลายน้ำนั้น สิ่งที่สำคัญมากก็คือ ปริมาณของน้ำที่ไก่กิน ซึ่งเราจะรู้ได้ก็จะต้องมีตัวเลขเป็นตัวบอกว่าไก่ใช้น้ำไปเท่าใหร่ ซึ่งในที่นี้ก็คือ โรงเรือนเลี้ยงไก่ จะต้องม มิเตอร์ สำหรับที่จะบันทึกปริมาณของน้ำที่ไก่กินเข้าไปด้วย ซึ่งสิ่งที่ว่านี้จะสำคัญมากต่อระบบการให้ยาโดยการละลายน้ำ เพราะว่า เราจะได้รู้ว่าน้ำที่เราผสมยาไปนั้น ไก่ภายในโรงเรือนมันกินได้หมด และกินได้หมด ภายในระบะเวลาท่เราต้องการด้วย เพื่อทำให้ประสิทธิภาพของการออกฤทธิของยาที่ให้นั้นได้อย่างเต็มที่
  • ในกรใช้ยาที่เป็นผงละลายน้ำนั้น จะต้องมีการพิจารณาคุณภาพของน้ำให้ดี ว่ายาที่ละลายนั้นมันสามารถที่จะละลายได้ 100% หรือไม่ เช่น ยาทั่วไปมักละลายได้ดีในน้ำที่มีลักษณะที่เป็นกรด ยาที่มีคุณสมบัติที่เป้นด่างมักละลายได้ดีในน้ำที่มีฤทธิ์เป็นกรด และน้ำที่เป้นน้ำกระด้าง หรือน้ำที่มีสารแขวนลอยมากๆ จะมีผลทำให้การออกฤทธิของยานั้นไม่ดี ซึ่งสารแขวนลอยนั้นมันจะไปจะกับอนุภาคของยาที่ทำการละลายในน้ำนั้น
  • ในการให้ยาที่มีปริมาณความเข้มข้นที่สูงๆ ยาที่ละลายน้ำนั้นมันมักจะไม่ละลาย ทำให้ยาบางส่วนเกิดการตกตะกอนได้ ซึ่งสุดท้ายจะทำให้ไก่ไม่ได้รับยาในปริมาณที่เติมที่ หรือเติมdose ดังนั้นการให้ยาละลายน้ำที่ดีจะต้องให้ตัวยามีความเข้มข้นไม่เกิน 5% ของน้ำที่จะทำการละลาย แต่ปัญหานี้สามารถที่จะทำการแก้ไขได้โดยการใช้ป็มกับถังสต๊อกยา เพราะจากที่กล่าวมาคือ มันจะสามารถที่จะปรับขนาดของการให้ยาที่เหมาะสมได้ และเราไม่จำเป็นที่จะต้องผสมยาในครั้งละมากๆ และนอกจากนี้ การล้างทำความสะอาด และการเปลี่ยนถังใหม่ก็สามารถที่จะทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็วอีกด้วย
  • จากที่กล่าวมาแล้ว ถ้าทางฟาร์มไก่ไม่มีความดือดร้อนมากนักกับเรื่องของต้นทุนอุปกรณ์ที่จะนำมาติดตั้งสำหรับการให้ยากับไก่ สิ่งที่เหมาะสมมากที่สุดก็คือ การใช้ป็มขนาดเล็กกับถังสต๊อกยา เพื่อควบคุมการให้ยาภายในฟาร์มไก่ จะทำให้ประสิทธิภาพของการใช้ยานั้นดีขึ้น
  • เทคนิคของการให้ยาโดยการละลายในน้ำนั้น อย่างหนึ่งที่จะต้องไม่ลืมเลยก็คือ หลายจากที่มีการให้ยาโดยการละลายน้ำแล้ว จะต้องมีการให้ ไก่ได้กินน้ำเปล่าด้วย ซึ่งน้ำเปล่านี้จะต้องป็มเข้าไปในรายระบบน้ำนานเป็นเวลา หลายๆชั่วโมงติดต่อกัน เพื่อให้ไก่ได้รับน้ำเปล่าบ้าง ไม่ให้ไก่เคลียส และที่สำคัญ เพื่อทำความสะอาดระบบท่อรายน้ำไก่กินให้สะอาดด้วย เพราะระบบท่อรายน้ำที่ทำการให้ยานั้น มันจะมีการตกตะกอนของยา และมีการปนเปื้อของยาด้วย ดังนั้นในการป็มน้ำเปล่าเข้าไปภายในระบบท่อรายน้ำนั้น ก็ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีควมสำคัญมาก มันจะช่วยในการล้างท่อ และป้องกันไปโอฟีม ที่จะเกิดภายในระบบท่อรายน้ำ ดังท่กล่าวมา
  • ในการให้ยาโดยการละลายน้ำนั้น สิ่งที่สำคัญที่จะต้องมีการพิจารณาประกอบร่วมกันกันก็คือ ปริมาณน้ำที่จะต้องใช้ ปริมาณยาที่จะต้องใช้ น้ำหนักของไก่ที่จะให้ยา และระยะเวลาที่จะให้ยา ดังนั้น ผู้ที่จะคำนวนค่าต่างๆเหล่านี้ จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญมาก ซึ่งถ้ามีการความนวนที่ผิดพลาดแล้ว ก็จะทำให้การให้ยานั้นไม่ได้ผล หรือไม่มีประสิทธิภาพที่ดี ตามมา
  • สุดท้ายนี้ ระบบการจัดการการให้น้ำแบบระบบท่อนั้น ฟาร์มไก่ที่มีการใช้นี้ จะต้องมีการควบคุมดูแล รักษา และปรับปรงซ่อมแซมให้ดี โดยในช่วงของการเตรียมโรงเรือนเลี้ยงไก่ ทางฟาร์มไก่จะต้องมีโปรแกรมในการล้างทำความสะอาด ให้ดี โดยเฉพาะตะกอนต่างๆ ไปโอฟีมที่อยู่ภายในท่อระบบการให้น้ำ จะต้องทำการล้างออกให้หมด และตรวจสอบซ่อมแซมท่อส่วนที่พัง เป็นรู ให้เรียบร้อย และจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า หัวนิปเปิลแต่ละหัวนั้น อยู่ในสภาพที่ดี ไม่มีรูรั่ว ในการล้างทำความสะอาดนั้น อาจจะมีการใช้กรดต่างๆ ล้างทำความสะอาด หรือใช้สารไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ แช่หมัก แล้วใช้ป็มแรงดันสูงล้าง ออกก็ได้

เอกสารอ้างอิง
· Xavier C.. 2008. The Importance Of Drinking Water , feed and livestock , V5( 2 ) : 31-34 p.

ประจำเดือน มิถุนายน 2009
เรียบเรียงโดย น.สพ.ชัชวาลย์ สอนศรี
ผช.กรรมการผู้จัดการ

Credit: chat-chan-chtooo.blogspot.com/2009/07/blog-post_29.html

https://www.kvjunion.com/นิปเปิ้ลให้น้ำไก่

M.L.A. Nipple Drinker Facebook https://www.facebook.com/KVJUnionPoultryEquipment

นิปเปิ้ลให้น้ำไก่

นิปเปิ้ลให้น้ำไก่

ผลิตจากเนื้อพลาสติก POM มีความทนทานสูง ทนทานต่อกรด ด่าง รวมทั้งน้ำยาฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ติดตั้งง่าย ประกอบใช้งานเร็ว รับผลิต พร้อมระบุอัตราการไหลของน้ำตามต้องการ

  • ผลิตจากเนื้อพลาสติก POM มีความทนทานสูง
  • ระบบลูกปืน และสลักล่างเป็น Stainless แท้ ทั้งชิ้น
  • ทนทานต่อกรด ด่าง รวมทั้งน้ำยาฆ่าเชื้อโรคต่างๆ
  • ติดตั้งง่าย ประกอบใช้งานเร็ว
  • มียาง O-Ring ป้องกันน้ำรั่วโดยไม่ต้องพันผ้าเทป
  • รับผลิต พร้อมระบุอัตราการไหลของน้ำตามต้องการ

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) ↓

Leave a Comment