ลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์ |
โรงงานพลาสติก ขวดพลาสติก บรรจุภัณฑ์ | K.V.J. Union Co., Ltd.

News & Updates

Archive for September, 2013

ลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์

การลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์

แนวทางที่เรายึดถือคือการลดต้นทุนในการบรรจุภัณฑ์ การใช้ซ้ำ และการรีไซเคิล ซึ่งเป็นหัวใจของกลยุทธ์ธุรกิจของเรา การลดขนาดและน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์จะช่วยลดต้นทุนในด้านวัสดุ พลังงานและค่าขนส่ง การออกแบบโครงสร้างและวัสดุให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องบรรจุจะทำให้การบรรจุภัณฑ์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ยินดีต้อนรับสู่ เค.วี.เจ. ยูเนี่ยน ผู้ผลิตขวดพลาสติก และ บรรจุภัณฑ์ ผู้ผลิตขวดพลาสติก และ บรรจุภัณฑ์ ฉีด และ เป่าพลาสติก เชี่ยวชาญในการผลิตขึ้นรูปพลาสติก เชี่ยวชาญในการผลิตขึ้นรูปพลาสติก รวมถึง ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง รวมถึง ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ขวดพลาสติก กระปุกครีม หัวปั๊ม หัวสเปรย์ ขวดพลาสติก กระปุกครีม หัวปั๊ม หัวสเปรย์ ช้อน ถ้วยตวง ฝาแบบต่างๆ ชิ้นส่วนอะไหล่พลาสติก ฯลฯ รับผลิตงานตามแบบ ผลิตแม่พิมพ์พลาสติก รับผลิตงานตามแบบ ผลิตแม่พิมพ์พลาสติก จากประสบการณ์กว่า 30 ปี จากประสบการณ์กว่า 30 ปี

แนวทางลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์

แนวทางของเราคือการลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์ การใช้ซ้ำ และการรีไซเคิล ซึ่งมีเป้าหมายธุรกิจอย่างชัดเจน การลดบรรจุภัณฑ์ทำให้เราได้รับประโยชน์ด้านต้นทุนในวัสดุ พลังงานและการขนส่ง

วิธีการลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์

  1. ใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา
  2. พัฒนาการออกแบบโครงสร้างและวัสดุอย่างเหมาะสม
  3. พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เข้มข้นมากขึ้น
  4. กำจัดบรรจุภัณฑ์ที่ไม่จำเป็น
  5. ซื้อในจำนวนมากและนำไปใช้ในหลายสายผลิตภัณฑ์

เราให้คำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีการลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์ของคุณ https://www.kvjunion.com/contact-us

 

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์

บริษัท เค.วี.เจ. ยูเนี่ยน จำกัด
70 ถนนพระรามที่ 3
แขวงบางคอแหลม
เขตบางคอแหลม
กรุงเทพฯ 10120

T: 02 289 1996
F: 02 292 1223
E: [email protected]
LINE: @tul2062b

Add Line

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →

แนวโน้มส่งออกเครื่องสำอางผสมสมุนไพรไทย 2013

แนวโน้มส่งออกเครื่องสำอางผสมสมุนไพรไทยไปตลาดยูเออีสดใส

นนทบุรี 7 ก.ค.- กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเผยแนวโน้ม-ภาวะตลาดสินค้าเครื่องสำอางในดูไบ เผยผลิตภัณฑ์สปา สมุนไพรมาแรง ชี้ต้องปรับแพ็คเกจให้เป็นที่ดึงดูดใจผู้ซื้อ เครื่องสำอางผู้ชายโตร้อยละ 70

สมุนไพรไทย

นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.) เปิดเผยรายงานจากสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สคร.) ณ เมืองดูไบ ถึงแนวโน้มและภาวะตลาดสินค้าเครื่องสำอาง ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ว่า ยูเออีมีการนำเข้าสินค้าเครื่องสำอางและสุขภาพจากทั่วโลกมีมูลค่ า 1,870 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 56,100 ล้านบาท โดยผ่านรัฐดูไบ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าของยูเออี มีการนำเข้าจากเยอรมนี ฝรั่งเศส อินเดีย อังกฤษ และ ไอร์แลนด์ ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจากไทยในปี 2555 นำเข้าเครื่องสำอางฯ จากไทยมีสัดส่ วนคิดเป็นร้อยละ 2 หรือคิดเป็นมูลค่า 37.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 1,122 ล้านบาท

ทั้งนี้ ตลาดมีแนวโน้มการนำเข้าสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สำหรับสปา แต่สินค้าจากไทยจะต้องมีการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้สวยงามตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น เพราะจะต้องแข่งขันกับสินค้าจากประเทศยุโรป หรือจากเอเชียอื่น ๆ รวมถึงจะต้องปรับปรุงรูปแบบ กลิ่น สี ให้เหมาะสมกับความนิยมของตลาดอยู่ ตลอดเวลา เน้นรูปแบบบรรจุภัณฑ์สวยงาม ตั้งราคาให้เหมาะสมแข่งขันกับสินค้าระดับเดียวกันได้ เพื่อให้ผู้นำเข้าสามารถนำไปใช้จำหน่ายและใช้เป็นสินค้าส่งออกต่อไปที่อื่นได้อีก

แนวโน้มเจาะตลาดยูเออีได้มากขึ้น คือ เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพร เนื่องจากมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างจากสินค้าของประเทศอื่น ๆ นอกจากเครื่องสำอางสำหรับแต่งหน้าแล้ว เครื่องสำอางสปาและสมุนไพร หรือ ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาตินั้น ได้รับความนิยมในประเทศนี้เช่นกัน” นางศรีรัตน์ กล่าว

นายณัฐพงศ์ บุญจริง ผอ.สคร. ดูไบ กล่าวว่า เครื่องสำอางบำรุงผิวผู้ชายคาดว่าจะมีมูลค่าตลาด 140 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2557 ซึ่งในช่วงปี 2554-2555 มีการวิจัยพบว่าสินค้ากลุ่มนี้มีความต้องการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 70 จากมูลค่าการนำเข้าเครื่องสำอางชายดังกล่าว สินค้ากว่าร้อยละ 30 เป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสำหรับผู้ชาย สินค้าที่นิยมและมีการขยายตัวเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า ได้แก่ ครีมบำรุงผิวหลังโกนหนวด ครีมบำรุงหน้า สำหรับผิวมันและผิวผสม และครีมบำรุงผิวลดริ้วรอย ปรับให้ผิวดูกระจ่างใส ประกอบสารต่อต้านอนุมูลอิสระไปจนถึงผลิตภัณฑ์ปกป้องแสงแดด

“ปัจจุบันสังคมเปลี่ยนไป ผู้ชายตะหนักเรื่องการดูแลผิวพรรณมากขึ้น เพราะหากปล่อยปละละเลยในการดูแลสุขภาพและผิวพรรณนั้น จะทำให้ริ้วรอยแห่งวัยจะปรากฏได้ง่ายและเร็ว พฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางของผู้ชายมักจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากเคาน์เตอร์ในซูเปอร์มาร์เก็ต มากกว่าจะเข้าร้านที่จำหน่ายเฉพาะ” นายณัฐพงศ์ กล่าว

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องสำอางของยูเออี มีการขยายตัวขึ้นตามจำนวนโรงงานผลิตเครื่องสำอางมีมากขึ้น ประกอบกับผู้ซื้อในยูเออีมีกำลังการใช้จ่ายสูง สินค้าผลิตภัณฑ์บำรุงผิวมีหลากหลายยี่ห้อให้เลือกซื้อ และยังมีเครื่องสำอางรุกเข้าไปจำหน่ายปลีกผ่านช่องทางตลาดอิเล็กทรอนิกส์หรือ อินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้สนใจสั่งซื้อสินค้าได้สะดวกเพิ่มขึ้นอีกด้วย ดังนั้นแนวโน้มเครื่องสำอางผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าในตลาดยูเออี จึงมีโอกาสการขยายตัวอีกมาก แต่ธุรกิจเครื่องสำอางในดูไบ ถือเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงของแบรนด์ ทั้งจากยุโรป อเมริกา อังกฤษ อิตาลี โดยเฉพาะแบรนด์เกาหลีที่เข้าไปสร้างสีสันชิงความสนใจของลูกค้า

สำหรับการค้าในดูไบมีกฎระเบียบนำเข้าที่เคร่งครัด เนื่องจากเป็นสินค้าที่ต้องสัมผัสกับร่างกาย ผิวหนังโดยตรง ต้องปฏิบัติตามหลักสากล และเป็นระเบียบเดียวกับประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศกลุ่มอ่าวอาหรับหรือ จีซีซี (GCC : Gulf cooperation Council) ได้แก่ บาห์เรน คูเวต รัฐสุลต่านโอมาน รัฐกาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ เช่ น วัตถุดิบที่ใช้ต้องปลอดภัยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ ซึ่งรวมทั้งสารประกอบที่ใช้เป็นส่ วนผสมของการผลิต ตลอดจนสารเคมีหรือสารสกัดจากธรรมชาติ จึงต้องมีข้อกำหนด อาทิ สลากสินค้า ผู้ได้รับอนุญาตนำเข้า รายละเอียดชื่อ ส่วนผสมต่าง ๆ วิธีการใช้งาน เป็นภาษาอารบิก วันหมดอายุ ห้ามใช้ภาพประกอบที่ล่อแหลม ไม่เหมาะสมขัดต่อวัฒนธรรมเป็นต้น.

Credit: mcot.net

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →