การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์แบบปล่อย
โรงงานพลาสติก ขวดพลาสติก บรรจุภัณฑ์ | K.V.J. Union Co., Ltd.

News & Updates

Archive for June, 2012

การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์แบบปล่อย Free-range organic egg

การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์แบบปล่อย

Free-range organic egg / Happy chick
บทนำ : ทำไมต้องเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย
ปัจจุบันแนวโน้มของผู้บริโภคยุคใหม่ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อเนื้อ นม ไข่ ที่ มาจากการจัดการเลี้ยงสัตว์ที่ คำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์ เพราะ ทัศนคติของผู้บริโภคคือมนุษย์นำสัตว์มาเลี้ยงเป็นอาหารจำเป็นต้องปฏิบัติต่อสัตว์อย่างมีมนุษยธรรม มีความเมตตาต่อสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไข่ไก่ที่รับประทานกันทุกวันนี้มาจากระบบการเลี้ยงไก่ ไข่ บนกรงตับ ซึ่ งหมายถึงไก่ ยืนโรงบนกรงลวดตลอดเวลาในพื้นที่ จำกัดแคบ ซึ่งไก่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ หรือได้แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติได้ เช่น การคลุกฝุ่น การคุ้ยเขี่ย การไซร้ปีก และการไข่ในรัง เป็นต้น จากรายงานของ CWIF Compassion in World Farming Trust (2006) ศึกษาการเลี้ยงไก่ ไข่ บนกรงตับซึ่ งมีจำนวนกว่ า 400 ล้านตัว ในสหภาพยุโรป พบว่าการเลี้ยงไก่ไข่บนกรงตับ มีผลต่อสุขภาพแม่ไก่ไข่ คือ ทำให้ กระดูกเปราะ แตกง่าย ในการเลี้ยงไก่อุตสาหกรรมจะเร่งผลผลิตจากไก่ทำให้ใช้แคลเซี่ยมจากกระดูกและไม่ได้ออกกำลัง เท้าและเล็บผิดปกติ ข้อเข่า ข้อขาผิดรูป ดำเนินชีวิตด้วยความทรมาน ดังนั้น สหภาพยุโรปได้รับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย และมีการศึกษาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เศรษฐกิจ-สังคม สุขภาพของสาธารณะ และผลดี ผลเสียของการเลี้ยงไก่ไข่หลากหลายระบบ จนเป็นข้อยุติ ประกาศกฎหมายการเลี้ยงไก่ไข่ ตาม EC directive 1999/74/EC มีสาระสำคัญห้ามเลี้ยงไก่ไข่บนกรงตับ โดยมีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป ห้างต่ างๆจะไม่ ซื้อไข่ไก่ ที่เลี้ยงบนกรงตับต่อไป ส่วนประเทศพัฒนาแล้วหลาย ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา หลายรัฐได้ผ่านร่างกฏหมายเกี่ยวกับการห้ามเลี้ยงไก่ไข่บนกรงตับแล้ว กำลังอยู่ขั้นตอนประกาศบังคับใช้ แม้จะยังไม่มีกฏหมายบังคับแต่ ก็มีข้อกำหนดให้ติดฉลากไว้บนแผงไข่ว่ามาจากการเลี้ยงระบบใด เช่น non-cage barn egg ซึ่ งเป็นการเลี้ยงปล่ อยในโรงเรือนไม่ ได้ปล่ อยให้ไก่ ได้ออกมาพื้นที่ภายนอกคอก หรือ eco-egg, free-range egg, free-range organic egg เป็นต้น การเลี้ยงไก่แบบปล่อย Free-range system หมายถึงอะไรหมายถึง ระบบการจัดการเลี้ยงไก่ที่ปล่อยให้ไก่ได้ออกมาภายนอกคอกหรือโรงเรือนได้อย่ างอิสระ โดยเป็นพื้นที่ ที่ มีหญ้าปกคลุม ทำให้ไก่ ได้แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ เช่น การคลุกฝุ่น การไซร้ขน การจิกกินพืช ผัก แมลงทำให้ไก่มีความสุข อารมณ์ดี จึงเรียกว่า “Happy chick” สหภาพยุโรป มีข้อกำหนดมาตรฐานการเลี้ยงไก่แบบปล่อยว่าต้องมีพื้นที่ภายนอกโรงเรือนอย่างน้อย4 ตร.ม./ตัว และต้องมีพืชปกคลุมดิน ไก่จะต้องมีอิสระที่จะออกจากคอกได้ตลอด เวลา ภายในคอกต้องมีคอนนอน มีรังไข่ให้ไก่ อย่างน้อย 7 แม่/รังวิธีการเลี้ยงไก่ แบบปล่ อยนั้นสอดคล้องกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์และการปฏิบัติจริงของเกษตรกรในฟาร์มสนับสนุน คือการเลี้ยงไก่ แบบปล่อยทำให้ไก่ มีความเป็นอยู่ อย่ างธรรมชาติ ร่วมด้วยกับการจัดการสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่ดี ทำให้ไก่ไม่เครียด มีความสุข มีภูมิต้านทานโรค มีผลทำให้สุขภาพแข็งแรง ความจำเป็นที่ต้องใช้ยาป้องกันหรือรักษาจึงไม่มีดังนั้นควรใช้ระบบมาตรฐานการเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์มาประยุกต์ใช้ ซึ่งนอกจากจะมีวิธี ปฏิบัติชัดเจนแล้ว ยังมีระบบการตรวจรับรองที่ สร้างความเชื่ อมั่ นให้ผู้บริโภคนอกจากนี้ราคาไก่ไข่อินทรีย์ขายได้ในราคาที่สูงกว่าไก่ปกติหลายเท่าสวัสดิภาพสัตว์ คืออะไร และ มีวิธีปฏิบัติอย่างไร สวัสดิภาพสัตว์ (animal welfare) หมายถึงคุณภาพชีวิตที่ดีของสัตว์บนพื้นฐานการคำนึงถึงหลัก 2 ประการคือ สภาพทางร่างกายสรีรวิทยาของสัตว์และสภาพทางจิตใจของสัตว์ การจัดสวัสดิภาพสัตว์ที่ ดีป้องกันไม่ ให้เกิดความเครียด ทำให้สัตว์แข็งแรงมีภูมิต้านทานโรคโดยธรรมชาติ ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในระดับสากลทั้งเชิงปรัชญาและทางวิทยาศาสตร์ว่ามีอะไรเป็นกรอบในการปฏิบัติ ดังนั้นในปี 1967 คณะมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ได้บัญญัติความหมายของสวัสดิภาพสัตว์ ซึ่งใช้เป็นกรอบในการจัดการ

ฟาร์ม เรียกว่า เสรีภาพ 5 ประการ (FAWC, 2005) ได้แก่

  1. สัตว์ต้องปราศจากความหิวและกระหาย Freedom from Hunger and Thirst ด้วยการจัดให้สัตว์ได้รับน้ำสะอาดและอาหารที่ มีคุณภาพตามความต้องการของสัตว์อย่างเพียงพอเพื่อให้สัตว์มีสุขภาพดีและแข็งแรง
  2. สัตว์ต้องปราศจากความไม่ สะดวกสบาย Freedom from discomfort ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่ เหมาะสม เช่ นการมีร่ มเงา และมีพื้นที่ พักผ่อนที่สะดวกสบาย สะอาด
  3. สัตว์ต้องปราศจากความเจ็บปวด ได้รับบาดเจ็บหรือเชื้อโรค Freedom from Pain, Injury or Disease ด้วยการป้องกันหรือหากสัตว์ได้รับบาดเจ็บหรือเกิดโรค โดยต้องชันสูตรและรักษาโดยเร็ว
  4. สัตว์ต้องได้แสดงออกตามพฤติกรรมธรรมชาติ Freedom to Express Normal Behaviorด้วยการจัดพื้นที่เพียงพอ มีอุปกรณ์ที่จำเป็นตามพฤติกรรมสัตว์ และการให้อยู่รวมฝูงในสังคมสัตว์แต่ละชนิด
  5. สัตว์ต้องปราศจากความกลัวและความกังวลใจ Freedom from Fear and Distress

ด้วยการแน่ใจว่าสัตว์ได้รับการจัดการในสภาพที่หลีกเลี่ยงต่อการทุกข์ทรมานทางจิตใจ เช่นการขนส่ง การจัดการชำแหละ เป็นต้นในทางปฏิบัติตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ดังกล่าว การจัดการเลี้ยงดูให้สัตว์มีสุขภาพดีเป็นหัวใจสำคัญ หรือ Good animal husbandry practices ได้แก่การให้อาหารที่ มีคุณภาพและปริมาณที่ เพียงพอต่อสัตว์ การจัดสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยที่สะอาด โปร่งโล่ง แห้ง สบาย การเลี้ยงปล่อยให้สัตว์ได้แสดงพฤติกรรมธรรมชาติสัตว์ได้ออกกำลัง ไม่กักขัง ไม่เลี้ยงหนาแน่น หรือเลี้ยงขังเดี่ยว เมื่อเจ็บป่วยต้องรักษา เป็นต้น ซึ่งแปลวิธีการปฏิบัติง่ายๆ ด้วยหลัก 5 อ. ได้แก่ อาหารดีอากาศดี อนามัยดี ออกกำลังดี และอารมณ์ดี รวมถึงสวัสดิภาพสัตว์ในการขนส่งและการฆ่าเป็นต้น “ความเครียด” เป็นผลจากการจัดการเลี้ยงสัตว์ไม่ดี จะส่งผลทั้งทางร่างกายและจิตใจของสัตว์ จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นที่ ทราบกันดีว่าความเครียด ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดลง เป็นความซับซ้อนของระบบในร่างกายของระบบประสาทและอวัยวะผลิตฮอร์โมน เมื่อเกิดความเครียดระบบประสาทจะส่งสัญญาณให้ต่อมใต้สมอง (hypothalamic-pituitary-adrena cortex axis(HPAaxis) และต่อมหมวกไต (symphathetic-adenal-medullar axis) ทำให้ adrenal gland หลั่งฮอร์โมนที่ไปกดการสร้างภูมิคุ้มกันโรค (Plotnikoff และคณะ, 1991)ดังนั้นหากสัตว์เกิดความเครียดจะทำให้ภูมิต้านทานโรคลดลง และทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ เช่นสัตว์น้ำหนักลด ให้ผลผลิตลดลง คุณภาพสัตว์ลดลง และมีค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น การทำให้สัตว์มีสุขภาพดีไม่ เพียงเพื่อสวัสดิภาพสัตว์เท่านั้น แต่ เพื่อไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะและยาถ่ายพยาธิในการเลี้ยงสัตว์ เพราะการใช้ยา และสารเคมี ทำให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพและสุขภาพของคนการใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาถ่ายพยาธิทำให้ถูกขับถ่ายออกมากับมูลไปกระทบต่อระบบนิเวศเกษตร คือทำให้จุลชีพในธรรมชาติพัฒนาตัวเองให้ดื้อยา

( Waller,1997:Sangster, 1999) และประการสำคัญทำให้ยาตกค้างในผลผลิตที่มนุษย์บริโภค มีผล ให้คนดื้อต่ อยารักษาโรค ดังนั้นผลิตผลเกษตรอินทรีย์จึงเป็นการสร้างความการเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์แบบปล่อย 7มั่นใจให้กับผู้บริโภคโดยวิธีการเลี้ยงสัตว์ที่สุขภาพสัตว์และความเสี่ยงต่อโรคระบาดในการเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยประเด็นปัญหาการเกิดโรคระบาดโดยเฉพาะความเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดนกในการเลี้ยงไก่แบบปล่อยและการเลี้ยงแบบอุตสาหกรรมนั้น เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์และหาข้อสรุปเชิงวิทยาศาสตร์ พบว่าการเกิดโรคจะเกิดขึ้นได้ทุกระบบของการเลี้ยง แต่ความรุนแรงของโรคจะแตกต่างกัน ไก่เลี้ยงปล่อยมีโอกาสเสี่ยงต่อนกป่าที่ติดเชื้อมากกว่าไก่ที่เลี้ยงในโรงปิดก็จริง แต่หากดูแลให้ไก่แข็งแรงด้วยการจัดการที่ดี มีภูมิต้านทานโรคโดยธรรมชาติ เมื่อได้รับเชื้อแล้วจะไม่รุนแรง และโอกาสกระจายมีน้อยเพราะเลี้ยงไม่หนาแน่น แต่การเลี้ยงแบบอุตสาหกรรมหากได้รับเชื้อจะระบาดรุนแรง เพราะตามหลักพันธุศาสตร์ สัตว์ที่คัดเลือกมาให้มีพันธุกรรมที่ให้ผลผลิตสูงจะอ่อนแอง่ายต่อการติดโรค และการเลี้ยงหนาแน่นสร้างโอกาสการสัมผัสกันของไก่ตัวต่อตัวไปได้อย่างรวดเร็วทำให้เชื้อโรคแข็งแรงขึ้น ดังนั้นจึงเป็นข้อสรุปว่าทุกระบบมีโอกาสการสัมผัสโรคแต่ความรุนแรงขึ้นอยู่กับปัจจัยสิ่งแวดล้อม การจัดการเลี้ยงดู และสุขอนามัยของสัตว์ (Commission to the EuropeanCommunities,Brussel, 8.10.2008,COM(2007) 865 final)

Credit: dld.go.th

นิปเปิ้ลให้น้ำไก่

นิปเปิ้ลให้น้ำไก่

ผลิตจากเนื้อพลาสติก POM มีความทนทานสูง ทนทานต่อกรด ด่าง รวมทั้งน้ำยาฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ติดตั้งง่าย ประกอบใช้งานเร็ว รับผลิต พร้อมระบุอัตราการไหลของน้ำตามต้องการ

  • ผลิตจากเนื้อพลาสติก POM มีความทนทานสูง
  • ระบบลูกปืน และสลักล่างเป็น Stainless แท้ ทั้งชิ้น
  • ทนทานต่อกรด ด่าง รวมทั้งน้ำยาฆ่าเชื้อโรคต่างๆ
  • ติดตั้งง่าย ประกอบใช้งานเร็ว
  • มียาง O-Ring ป้องกันน้ำรั่วโดยไม่ต้องพันผ้าเทป
  • รับผลิต พร้อมระบุอัตราการไหลของน้ำตามต้องการ

Posted in: Knowledge

Leave a Comment (0) →